หน้าหลัก > คำถามที่พบบ่อย
1. ทำไมต้องใช้ Enclosure Cooling Unit

ภาพประกอบ 1. แสดงมลพิษที่สามารถเกิดขึ้นได้ภายในโรงงาน หรือ อุตสาหกรรม

 

ภายในโรงงานหรืออุตสาหกรรมต่างๆ หากไม่มีการระบายอากาศที่ดี
อันตรายต่อสุขภาพอาจเกิดขึ้นต่อบุคลากรภายในสถานที่ได้

โดยฝุ่น ควัน และสารเคมี

 

ภาพประกอบ 2. เปรียบเทียบความสามารถและระยะการใช้งานก่อนที่จะซ่อมครั้งต่อไปของวิธีต่างๆในการทำความเย็น


การระบายความร้อนให้กับตู้คอนโทรลสามารถทำได้หลายวิธีข้อมูลด้านล่างจะอธิบายถึงการระบายความร้อนในรูปแบบต่างๆที่มีใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
ซึ่งในการจะเลือกใช้วิธีการระบายความร้อนแบบใดนั้น ก็ต้องพิจารณาจากหลายๆปัจจัย เช่น  อุณหภูมิและสภาพแวดล้อมรอบข้างของตู้คอนโทรล, ขนาดของตู้คอนโทรล, ขนาดและกำลังของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่บรรจุอยู่ ภายในตู้คอนโทรล, พื้นที่ภายในโรงงาน, อัตราการสิ้นเปลืองพลังงานของการระบายความร้อนในแต่ละแบบ เป็นต้น

เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน


การระบายความร้อนด้วยวิธีนี้นิยมกันมากในต่างประเทศ เพราะค่าใช้จ่ายไม่สูงเมื่อเทียบกับเครื่องปรับอากาศ แต่เมื่อนำวิธีนี้มาใช้ในประเทศที่มีสภาพอากาศที่ร้อน มันแทบ จะใช้ไม่ได้ผล เพราะระบบการทำงานของวิธีนี้คือการแลกเปลี่ยน ความร้อนภายในตู้คอนโทรลกับอากาศด้านนอกของตู้คอนโทรล ที่จะต้อง มีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิภายในตู้คอนโทรลเพื่อช่วย ลดความร้อนภายในตู้คอนโทรล ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ค่อนข้างยาก

ท่อส่งลม


การระบายความร้อนนี้ออกแบบมาเพื่อใช้กับงาน ที่ต้องการแรงลมที่แรง เพื่อใช้ในการส่งลมในระยะไกล

การควบคุมแรงลมทำได้ค่อนข้างยาก เพราะวิธีนี้จะใช้ปั๊มลม เป็นตัวสร้างแรงลมและส่งลมออกไปตามท่อที่มีการต่อออกไป ใช้งานในแต่ละจุด เมื่อมีการใช้งานในหลายๆ จุดพร้อมกันแรงลมที่ได้ก็จะลดลง ทำให้การระบายความร้อนทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ ผลลัพธ์ที่ได้ก็ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน

เครื่องปรับอากาศ

 

วิธีนี้เรียกกันโดยทั่วไปว่าแอร์บ้าน ซึ่งการระบายความร้อน ให้กับตู้คอนโทรลด้วยวิธีนี้มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เนื่องจาก คุณจะต้องสร้างห้องครอบตู้คอนโทรลขึ้นมา เพื่อเป็นขอบเขตในการกักเก็บความเย็นแล้วค่อยทำการติดตั้ง เครื่องปรับอากาศ ซึ่งจะทำให้เสียพื้นที่ใช้สอยค่อนข้างเยอะ อุณหภูมิภายในห้องนั้นจะลดลงต่ำกว่า อุณหภูมิรอบข้าง แต่ความร้อนภายในตู้คอนโทรลไม่ได้ระบาย ออกไป

บางคนจัดการแก้ไขปัญหานี้ โดยนำพัดลมมาติดที่ตู้คอนโทรล เพื่อดึงลมเย็นเข้าไประบายความร้อนภายในตู้คอนโทรล ซึ่งจะต้อง มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นไปอีก บวกกับปัญหาเรื่องฝุ่นละอองที่ถูกพัดลม ดูดเข้าไปภายในตู้คอนโทรลทำให้เป็นปัญหาในการดูแลรักษา และ ซ่อมบำรุงอุปกรณ์ภายในตู้คอนโทรล

อีกหนึ่งสิ่งที่น่าเป็นห่วง คือสุขภาพของพนักงานที่ทำงานในห้องนั้น จะต้องสูดกลิ่นที่เกิดขึ้นจากการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ภายในตู้คอนโทรล

พัดลม


วิธีนี้เป็นวิธีระบายความร้อนให้กับตู้คอนโทรลที่มีค่าใช้จ่ายน้อย ที่สุดในบรรดารูปแบบการระบายความร้อน ด้วยระบบการทำงานของวิธีนี้ที่ไม่มีอะไรซับซ้อน เป็นเพียงการนำ พัดลมไปติดตั้งที่ผนังตู้คอนโทรล เพื่อดึงอากาศจากภายนอกเข้าไป ระบายความร้อนภายในตู้ เพื่อป้องกันการเกิดความร้อนสะสม

ดังนั้น ความร้อนภายในตู้คอนโทรลจะลดลงมากหรือน้อยแค่ไหน ก็จะขึ้นอยู่กับระดับอุณหภูมิรอบข้างเป็นปัจจัยสำคัญ

อีกประเด็นหนึ่งวิธีการระบายความร้อนวิธีนี้เป็นระบบเปิด มีผลเสีย ในเรื่องของความชื้น และเศษสิ่งสกปรกจากสภาพแวดล้อมรอบข้าง ซึ่งถูกพัดลมดูดเข้าไปภายในตู้คอนโทรล ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้เป็นปัจจัย ที่อาจจะทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ภายในตู้คอนโทรล เสียหายได้

Cooling Unit

 

การระบายความร้อนวิธีนี้ถูกเรียกกันออกไปในหลายๆแบบ เช่น แอร์ตู้คอนโทรล,เครื่องปรับอากาศสำหรับตู้คอนโทรล, แอร์ตู้, เครื่องควบคุมอากาศ, เครื่องควบคุมอุณหภูมิ, แอร์บ๊อก เป็นต้น

 

การระบายความร้อนให้กับตู้คอนโทรลด้วยวิธีนี้ เหมาะสมและคุ้มค่าที่สุด เมื่อเทียบกับการระบายความร้อนในรูปแบบอื่นๆ เพราะมีคุณสมบัติในการระบายความร้อน และสามารถป้องกันปัญหาเรื่องความชื้น และเศและเศษสิ่งสกปรกได้อย่างดีเยี่ยม ระบบการทำงานเป็นระบบปิด โดยมีระบบทำความเย็นภายในตัวเครื่องส่งลมเย็น เข้าไปในตู้คอนโทรล เพื่อระบายออกสู่ภายนอก วิธีใช้งานไม่ยุ่งยาก

 

เพียงนำตัวเครื่องติดตั้งเข้ากับผนังตู้คอนโทรล พร้อมปิดตู้คอนโทรลให้สนิทเพื่อจำกัดขอบเขตในการทำความเย็น และเพื่อควบคุมระดับอุณหภูมิภายในตู้ให้คงที่

 

ช่วยป้องกันปัญหาเรื่องความชื้น อีกทั้งยังช่วยป้องกันเรื่องฝุ่นละออง, ไอระเหยของน้ำมันและสารเคมีไม่ให้เข้าไป สร้างความเสียหายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ภายในตู้คอนโทรลได้อีกด้วย

 

ในเรื่องของการเลือกใช้วิธีระบายความร้อนในแต่ละแบบนั้นขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัย ดังนั้นการลงทุนแต่ละครั้งควรพิจารณาถึงความคุ้มค่าเป็นสำคัญ

2. ทำไมต้องใช้ DINDAN

 

บริษัท ดินแดน เทคนิคอล จำกัด ได้มีการวิจัยและพัฒนาสินค้าอย่างใส่ใจและต่อเนื่อง โดยทีมวิศวกรมากประสบการณ์เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุดของแอร์และบุคลากร โดยเน้นเรื่องการประหยัดพลังงาน


ทางบริษัทได้ออกแบบสินค้าให้มีลักษณะที่เพรียวบาง ตัวเครื่องสามารถติดตั้ง และดูแลรักษาได้ง่าย เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ใช้งานมากที่สุด

 

ความใส่ใจในเรื่องการระบายน้ำทิ้ง


ถาดน้ำทิ้ง 2 ชั้น เอกลักษณ์เฉพาะตัวของ DINDAN
ช่วยป้องกันเรื่องน้ำล้นเข้าตู้คอนโทรลได้อย่างดีเยี่ยม

ระบบการทำงานและระบบการป้องกันความเสียหาย


Hi-prosent control ชุดบอร์ดคอนโทรลที่ช่วยควบคุมระบบการทำงาน
ของตัวเครื่องทั้งหมด พร้อมฟังก์ชั่นการแจ้งเตือน เมื่อตัวเครื่อง
มีลักษณะการทำงานที่ผิดปกติ

ใช้หลักอากาศพลศาสตร์

 

ได้มีการนำเอาหลักอากาศพลศาสตร์เข้ามาประมวลผลในการออกแบบตัวสินค้า เพราะการไหลเวียนของอากาศที่ดีนั้น จะส่งผลทำให้ Cooling Unit ทำงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ออกแบบและประมวลผลหลักการถ่ายเทความร้อนด้วยคอมพิวเตอร์

 

หลังจากได้โครงร้างพื้นฐานแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการออกแบบแผงระบายความร้อน, แผงส่งลมเย็น และปริมาณการอัดน้ำยา ซึ่งการออกแบบทั้งหมดจะถูกประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งระบบการระบายความร้อน และการทำความเย็นที่มีเสถียรภาพ และมีประสิทธิภาพคงที่ แม้จะใช้งานอยู่ในสภาพอุณหภูมิที่แตกต่างกัน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาพประกอบ 1 - แผนภาพแสดงวงจรการทำความเย็น

ทดสอบระบบการทำงานทั้งระบบด้วยคอมพิวเตอร์

 

ขั้นตอนสุดท้ายในการออกแบบตัวผลิตภัณฑ์จะถูกทดสอบระบบการทำงานทั้งหมด พร้อมตรวจจับผลการทดสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อให้แน่ใจว่าตัวผลิตภัณฑ์ สามารถทำงานได้อย่างสมดุลและมีประสิทธิภาพสูงสุด

ภาพประกอบ 2 - แผนภาพแสดงการประมวลผลของวงจรการทำความเย็น

ภาพประกอบ 3 - แผนภาพแสดงการตรวจจับระบบการทำงานแบบเรียลไทม์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์